ศิลปศาสตรบัณฑิต

จิตวิทยา

สามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่นักจิตวิทยา เช่น สามารถให้การปรึกษาและแนะแนว สามารถใช้เครื่องมือในการทดสอบทางจิตวิทยาในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ รวมทั้งสามารถปฏิบัติการวิจัยทางจิตวิทยาในการผลิตผลงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชน ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยยึดหลักสัจจะบริการ และจรรยาบรรณวิชาชีพทางจิตวิทยา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
Bachelor of Arts Program in Psychology
ศศ.บ. (จิตวิทยา) B.A. (Psychology)

“นักจิตวิทยา” อาชีพที่ AI ทำงานแทนไม่ได้

“เรียนรู้รอบด้าน ศาสตร์แห่งจิตวิทยา
เป็นผู้ให้คำปรึกษา...สู่ “นักจิตวิทยามืออาชีพ”

หลักสูตร

หลักสูตรปรับปรุง 2565
ได้รับอนุมติให้ดำเนินการหลักสูตรเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต
         2.1 กลุ่มวิชาเอกบังคับทางจิตวิทยา จำนวน 63 หน่วยกิต
         2.2 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6-9 หน่วยกิต
         2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือกทางจิตวิทยา/หรือวิชาโท
             (ก) กรณีเรียนรายวิชาสหกิจศึกษาทางจิตวิทยา จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
             (ข) กรณีเรียนรายวิชาการฝึกภาคปฏิบัติด้านจิตวิทยา จำนวนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
             (ค) กรณีเรียนวิชาโทของสาขาวิชาอื่น จำนวนไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต     
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

เมื่อนักศึกษาสำเร็จหลักสูตร
1) สามารถอธิบายและประยุกต์ศาสตร์ทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์
2) สามารถให้การปรึกษาและแนะแนว การปฏิบัติการทดสอบและการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาในการป้องกัน แก้ไขและพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์
3) สามารถปฏิบัติการวิจัยทางจิตวิทยา การผลิตผลงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชน
4) ปฏิบัติงานในหน้าที่ทางจิตวิทยาด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยยึดหลักสัจจะ บริการ จรรยาบรรณวิชาชีพทางจิตวิทยาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5) มีทักษะการคิด การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การประกอบอาชีพและการดารงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นพลเมืองโลก

ปีที่ 1 ประยุกต์ศาสตร์ทางจิตวิทยา เช่น รายวิชา จว.111 จิตวิทยาทั่วไป, จว.112 สรีรจิตวิทยา
ปีที่ 2 ปฏิบัติการทดสอบและใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา เช่น รายวิชา จว.224 จิตวิทยาความก้าวร้าวและความรุนแรงในสังคม, จว.236 ทฤษฎีและเทคนิคการให้การปรึกษา, จว.271 สุขภาพจิตและการปรับตัว
ปีที่ 3 ให้การปรึกษาและปฏิบัติการวิจัยทางจิตวิทยา เช่น รายวิชา จว.324 นิติจิตวิทยาเบื้องต้น, จว.335 การให้การปรึกษาแบบกลุ่ม, จว.371 การทดสอบทางจิตวิทยา
ปีที 4 ทักษะในการปฏิบัติงานด้านจิตวิทยา เช่น รายวิชา จว.461 การปรับพฤติกรรม, จว.463 จิตวิทยาความหลากหลายของมนุษย์, จว.498 การฝึกภาคปฏิบัติด้านจิตวิทยา
โดยสามารถเลือกฝึกปฏิบัติงานทางด้านจิตวิทยา ต่อไปนี้
     (1) การฝึกภาคปฏิบัติด้านจิตวิทยา
     (2) สหกิจศึกษาทางจิตวิทยา

* ทั้งนี้สาขาจะพิจารณาการเลือกเรียนของนักศึกษา โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของนักศึกษาทั้งความรู้ความสามารถ และผลการเรียน

  • ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่าหรืออนุปริญญา

*กรณีเป็นชาวต่างประเทศต้องมีความสามารถทางภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทยผ่านตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  • ครู-อาจารย์แนะแนวในสถาบันการศึกษา/นักจิตวิทยาประจำเขตพื้นที่การศึกษา/นักจิตวิทยาประจำโรงเรียน
  • นักจิตวิทยาประจำศาล/ผู้ปฏิบัติงานจิตวิทยาในกระบวนการยุติธรรม/นักจิตวิทยาตามที่กฎหมายกำหนด
  • นักจิตวิทยาในหน่วยงานภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม/นักวิชาการแรงงาน/ผู้ประกอบการและนักธุรกิจ/นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย/นักฝึกอบรม/นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • นักพัฒนาสังคม/นักจิตวิทยาประจำสถานฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด สถานฟื้นฟูผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน
  • งานด้านอื่นๆ เช่น นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ (Life Coach) /นักเขียนสร้างแรงบันดาลใจ/การเป็นผู้ให้คำปรึกษาในกลุ่มงาน NGO หรืองานที่ปรึกษาหน่วยงานต่างๆ

ค่าเล่าเรียน

สำหรับ 4 ปีการศึกษา หรือ 8 ภาคการศึกษา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 = 36,050 บาท ภาคการศึกษาที่ 2 = 34,600 บาท

ปีที่ 2 – ปีที่ 4 เฉลี่ยภาคการศึกษาละ 38,XXX บาท

รวมตลอดหลักสูตร (4 ปี) 305,550 บาท

*กรณีเป็นนักศึกษาชาวต่างประเทศจะมีค่าธรรมเนียมนักศึกษาต่างชาติ 10,000 บาท ต่อภาคการศึกษา รวมตลอดหลักสูตร 385,550 บาท

เรียนสาขานี้ จะได้รับโอกาสดี ๆ อะไรบ้าง

  • ได้ไปศึกษาดูงานเพื่อเปิดโลกประสบการณ์อาชีพนักจิตวิทยาตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่
  • ได้ทำกิจกรรมเสริมทักษะทางจิตวิทยา เช่น การฝึกทำกิจกรรมกลุ่มทางจิตวิทยา การฝึกปฏิบัติในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
  • ได้ฝึกประสบการณ์ทางจิตวิทยาตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และมูลนิธิ เช่น ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.นงนภัส พันธ์พลกฤต

ปร.ด. (เกียรติบัตรผลการเรียนยอดเยี่ยม) การบริหารการพัฒนา
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

ดร.ปุณณาสา โพธิพฤกษ์

ปร.ด. จิตวิทยา
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

อ.ทัศนียา วงศ์จันทร์

ศษ.ม. จิตวิทยาการศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ.ศศิวิมล คงเมือง

ศษ.ม. จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.อนันท์สรศักด์ แก้วของแก้ว

วท.ม. จิตวิทยาการปรึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Contact

Tel. 053 851 478 – 86, 053 241 255 Ext. 478
Mobile/ID Line: 062 235 4626 อาจารย์ ดร.ปุณณาสา โพธิพฤกษ์
Facebook: Psychology PYU